วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

แบบทดสอบกีฬาที่ชอบของนักเรียนโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม /นิรวิทย์ เลขที่11

แบบทดสอบการชอบรับประทานรสชาติอาหารของครูและนักเรียนโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ภาณุพล เลขที่1

แบบสอบถามทั่วไป กานต์ธิดา เลขที่ 21

แบบทดสอบนักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมชอบเพลงอย่างไร จิรภัทร เลขที่8

สไลด์แนะนำสมาชิก

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การคิดเชิงออกแบบ

การนำข้อมูลมาใช้เพื่อสื่อสารถึงแม้จะทำให้เข้าใจปํญหาหรือสถานการณ์มากยิ่งขึ้นแต่ถ้าความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ ก็จะทำให้ของปู้ใช้ ก็จะทำให้การนำเสนอข้อมูลผลลัพธ์ไม่สบผมสำเร็จเนื่องจากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่นำเสนอนั้นได้เช่น ข้อมูลที่รำเสนอมีปรืมาณมากหรือน้อยกว่าความต้องการเมื่อผู้ใช้พิจารณาข้อมูลแล้วคิดว่าไม่จำเป็นสำหรับตนเองข้อบกพร่องนี้อาจทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง

ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.1 วิวัฒนาการของสารสนเทศ
        ในระบบสารสนเทศนั้นจะมีการนำข้อมูลต่างๆ มาประมวลผลให้ข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้งาน ในอดีตที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ก็ยังมีเครื่องมืออื่น มาช่วยในการประมวลผลข้อมูลและช่วยในการสร้างผลผลิตได้ จนถึงปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล ก็ทำให้ระบบสารสนเทศนี้พัฒนาไปได้มากขึ้นช่วยให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น
        ในโลกของเราได้มีการนำเครื่องมือมาช่วยในการดำรงชีวิตมากมาย จนในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ หากแบ่งวิวัฒนาการของยุคสารสนเทศจะแบ่งได้ดังนี้
        >>> โลกยุคกสิกรรม (Agriculture Age)
                ยุคนี้นับตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ.1800 ถือว่าเป็นยุคที่การดำเนินชีวิตของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการทำนา ทำสวน ทำไร่ โลกในยุคนี้ยังมีการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน แต่ก็เป็นสินค้าเกษตรเป็นหลัก มีการนำเครื่องมือเครื่องทุ่นแรงมาใช้งานให้ได้ผลผลิตดีขึ้น ในระบบหนึ่งๆ จะมีผู้ร่วมงานเป็นชาวนา ชาวไร่ เป็นหลัก

        >>> ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age)
                ยุคนี้จะนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1800 เป็นต้นมา โดยในประเทศอังกฤษได้นำเครื่องจักรกลมาช่วยงานทางด้านเกษตร ทำให้มีผลผลิตมากขึ้น และมีผู้ร่วมงานในระบบมากขึ้น เริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรม เริ่มมีคนงานในโรงงาน ต่อมาการนำเครื่องจักรกลมาใช้งานนี้ได้ขยายไปสู่ประเทศต่างๆ และได้มีการแปรรูปผลิตผลทางด้านการเกษตรออกมามากขึ้น และเครื่องจักรกลก็เป็นเครื่องมือที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ และเริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งทำให้โลกของเรามีทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมควบคู่กันไป

         >>> ยุคสารสนเทศ (information Age)
                ยุคนี้จะนับตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1957 จากที่การทำงานของมนุษย์มีทั้งด้านเกษตรและด้านอุตสาหกรรม ทำให้คนงานต้องมีการสื่อสารกันมากขึ้น ต้องมีความรู้ ในการใช้เครื่องจักรกล ต้องมีการจัดการข้อมูลเอกสาร ข้อมูลสำนักงาน งานด้านบัญชี จึงทำให้มีคนงานส่วนหนึ่งมาทำงานในสำนักงาน คนงานเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้และต้องทำหน้าที่ประสานงานระหว่างฝ่ายผลิตและลูกค้า ทำให้มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการประมวลผล จัดการให้ระบบงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้เกิดการใช้เครื่องมือทางด้านสารสนเทศขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อเข้าสู่ยุคสารสนเทศ องค์กรต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการงานประจำวัน จะทำงานได้สำเร็จเร็วขึ้น การผลิดทำได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตสามารถประมวลผลข้อมูลต่างๆ ได้เร็วขึ้น มีการนำระบบอัตโนมัติด้านการผลิตมาใช้ มีระบบบัญชี และมีโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะด้านมากขึ้น
1.2 ข้อมูลและรูปแบบของข้อมูล
        ข้อมูล (data) เป็นข้อมูลต่างๆ หรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล เช่น ระบบการตัดเกรดของนักศึกษา ข้อมูลจะเป็นคะแนนต่างๆ ของนักเรียนแต่ละคน จากนั้นระบบจะนำคะแนนไปหาคะแนนรวมและตัดเกรดตามเงื่อนไขที่กำหนด แล้วให้เอาต์พุตออกมาเป็นข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว เรียกว่าสารสนเทศ
     ถ้าพิจารณาการประมวลผลข้อมูลในองค์กร เราอาจจะแบ่งแหล่งที่มาของข้อมูลได้ 2 ประเภท คือ
        1. ข้อมูลภายใน เป็นข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เกิดจากการปฏิบัติงานของสมาชิกในองค์กร เช่น ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ข้อมูลธุรการ ข้อมูลการเงินต่างๆ
        2. ข้อมูลภายนอก เป็นข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานอื่นๆ นอกองค์กรที่เกี่ยวข้อ
        สำหรับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ในครั้งแรก ยังไม่ได้ตัดเลือกหรือกลั่นกรองข้อมูลจะเรียกว่า ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ส่วนข้อมูลที่ผ่านการคัดเลือกหรือกลั่นกรองมาแล้ว ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลที่ได้มาครั้งแรกจะเรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
1.3 ระดับของข้อมูล
ข้อมูลสามารถแบ่งระัดับได้ดังนี้
1. บิต (Bit : Binary Digit) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล จะแทนด้วยสัญญาณ "0" หรือ "1" โดยระบบจะนำบิตต่างๆ มาต่อกันจึงสามารถประมวลผลได้ดีขึ้น
2. ตัีวอักขระ (Characters) เป็นกลุ่มของบิตข้อมูลที่ใช้แทนตัวอักขระที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้โดยนำบิตมาอ่านรวมกันเป็นไบต์ให้อยู่ในรูปของรหัส ASCII รหัส EBCDIC หรือรหัส Unicode ที่มีขนาดสองไบต์
3. ฟิลด์ (Field) เป็นกลุ่มของไบต์ข้อมูลที่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบบต้องการ โดยมีชื่อเรียกฟิลด์ (field name) กำกับอยู่ ในการใช้งานผู้ใช้จะต้องกำหนดชนิดของข้อมูลที่อยู่ในฟิลด์ด้วย ฟิลด์แต่ละฟิลด์อาจใช้ประเภทของข้อมูลที่ต่างกัน มีขนาดต่างกัน เช่น ฟิลด์ที่เก็บชื่อข้อมูลประเภทตัวอักษร ฟิลด์ที่เก็บเงินเดือนจะเป็นข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม เป็นต้น
4. เรคคอร์ด (Record) เป็นกลุ่มของฟิลด์ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เพื่อแทนข้อมูลสำหรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยแต่ละเรคอร์ดต้องมีอย่างน้อยหนึ่งฟิลด์ที่บอกความแตกต่างระหว่างเรคคอร์ดนั้น เรียกว่า กุญแจหลัก หรือ คีย์หลัก (primary key) ตัวอย่างเช่น เรคคอร์ดที่เก็บข้อมูลพนักงานแต่ละบุคคล โดยแต่ละเรคคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ที่เป็นชื่อ รหัสประจำตัว เงินเดือน อายุ ทีอยู่ ซึ่งอาจใช้ฟิลด์ที่เป็นรหัสประจำตัวเป็นคีย์หลักก็ได้
5. ไฟล์ (File) หรือแฟ้มข้อมูล เป็นกลุ่มของเรคคอร์ดที่นำมารวมกันให้อยู่ในโครงสร้างเดียวกันสามารถค้นหาข้อมูลได้ง่าย และเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือสื่อบันทึกต่างๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ


สรุปหนังสือ1.2วิทยาการข้อมูล


ทุกวันนี้บนโลกออนไลน์ หรือโลกออฟไลน์ก็ตาม เรามักจะพบเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเรากำลังสูญเสียความเป็นส่วนตัว การท่องไปบนโลกออนไลน์หรือการใช้บริการโลกธุรกิจในโลกออฟไลน์ ก็ทำให้เรารู้สึกได้ว่า เฮ้ย! ทำไม มารู้เรื่องส่วนตัวของเรามากเหลือเกิน
หลายคนพอขึ้นเครื่องบิน หากเป็นสมาชิกสะสมไมล์ และเคยใช้บริการมาก่อน พนักงานต้อนรับบนเครื่องจะทราบทันทีว่าเราชอบกินหรือดื่มอะไร และนำมา offer ให้ทันที เช่น รู้ว่าเราชอบกินถั่วลิสงคั่วกับน้ำส้ม พนักงานจะยกมาเสิร์ฟให้ทัน เพราะเขาได้เก็บข้อมูลพฤติกรรมหรืออาหารที่เราชอบ order หรือ request บนเครื่องบินเอาไว้แล้ว ลองนึกดูว่าพนักงานสาวสวยๆ เอาขนมหรืออาหารที่เราชอบทานมาให้ หลายคนก็คงเขินๆ ว่าเอ ทำไมรู้เรื่องของเรามากจัง บางคนก็อาจจะดีใจว่าเขาใส่ใจเรา บางคนก็อาจจะรู้สึกว่าเฮ้ยมาละลาบละล้วงเรามากเกินไปหรือไม่ ที่สายการบินทำได้เช่นนี้เพราะมีการบันทึกพฤติกรรมไว้ในฐานข้อมูลลูกค้าและพนักงานเรียกออกมาดูก่อนจะให้บริการบนเครื่องบินด้วยซ้ำไป โดยที่ไม่ได้บอกกล่าวกับเราด้วยซ้ำว่าเก็บข้อมูลของเรา
หากท่านเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ ก่อนจะ scan barcode ว่าท่านซื้อสินค้าอะไรบ้าง แต่ละสินค้าจะมี stock keeping unit (SKU) ซึ่ง unique แตกต่างกันไป พนักงานจะคีย์ปุ่มใดปุ่มหนึ่งในหกปุ่ม (ชาย versus หญิง, เด็ก versus วันรุ่น vs วัยทำงาน วัยกลางคน ขึ้นไป) เพื่อจะระบุว่าท่านเป็นลูกค้ากลุ่มไหน เมื่อ Scan barcode เข้าไปตอนจ่ายเงิน ข้อมูลจะส่งเข้าไปสำนักงานใหญ่ วิเคราะห์พฤติกรรมของท่านว่าลูกค้ากลุ่มไหนซื้อสินค้าอะไร หรือไปใช้วิเคราะห์ว่าสินค้าอะไรมักซื้อคู่กับอะไร เรียกว่าการวิเคราะห์ตะกร้าทางการตลาด (Market basket analysis) ทำให้ในร้านสะดวกซื้อมักวางถุงยางอนามัยไว้ข้างหนึ่งของเคาน์เตอร์จ่ายเงินและอีกข้างหนึ่งมีหมากฝรั่งไว้ขายคู่กันเพราะลูกค้ามักซื้อคู่กัน แล้วนี่มาละลาบละล้วงว่าเราไปซื้ออะไรกันบ้าง แบบนี้จะไหวหรือ
ห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย ให้สมัครบัตรสมาชิกหรือบัตรสะสมแต้ม เพื่อให้ระบุได้ว่าลูกค้าคนไหน หลังจากวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อในอดีตจะทำให้ทราบว่าลูกค้าคนหนึ่งจะซื้อสบู่ทุกสามเดือน ก่อนจะครบสามเดือนห้างสรรพสินค้าแห่งนั้นจะส่งคูปองส่วนลดสบู่มาให้ และเชิญชวนให้มาซื้อของที่ห้างสรรพสินค้าแห่งนั้น เรียกว่าระบบแนะนำ (Recommendation system) เมื่อลูกค้ามาซื้อสบู่แน่นอนต้องอดไม่ได้ที่จะซื้ออย่างอื่นไปด้วย เป็นกลยุทธ์การตลาดที่เรียกว่า Bait and switch ก็ได้ คืออ่อยเหยื่อปลา เมื่อปลางับเหยื่อก็ให้ไปกินเหยื่ออยากอื่นด้วย ทำให้ได้กำไรมากขึ้น คำถามคือแล้วมา track พฤติกรรมเรา เรากำลังถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือไม่

สรุปหนังสือกระบวนการวิทยาการข้อมูล1.3

กระบวนการวิทยาการข้อมูล(data science process)

การเพิ่มูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยข้อมูลนั้น นอกจากจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้วแ นักเรียนยังต้องเข้าใจกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดหาและประมวลผลข้อมุลอีกด้วย เนื่องจากกิจกรรมที่ต้องทำค่อนข้างหลางหลายเพื่อไม่ให้สับสนหรือพลาดประเด็นใดไปนักเรียจนสามารถดำเนินการตามกระบวนการของวิทยาการข้อมูลที่ระบุขั้นตอนสำคัญต่างๆ ที่ประกอบด้วย การตั้งคำถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพสู่ผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายมีรายละเอียดดังนี้

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Big data





          Big data analytics สำคัญยังไงและช่วยอะไรเราได้บ้าง?

    เมื่อเห็นคำว่า Big Data อีกหนึ่งคำที่ต้องตามมาก็คือ Big data analytics หรือแปลตรงตัวได้ว่า การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า ฟังดูก็เหมือนจะเข้าใจอยู่แต่ประเด็นคือจริงๆแล้วมันหมายความว่าอะไร สำคัญยังไงและมันวิเคราะห์หาอะไรกันแน่
Big data analytics คือ กระบวนการวิเคราะห์เซ็ตข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้นที่ซ่อนอยู่ข้างใน หาสิ่งเชื่อมโยงที่เชื่อมข้อมูลเหล่านั้นเข้าไว้ด้วยกัน หาเทรนด์ทางการตลาด หาความต้องการของลูกค้า และข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนี้สามารถนำไปสู่การทำแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ โอกาสในการสร้างผลกำไร การให้บริการที่ดีมากขึ้นแก่ลูกค้า การปรับปรุงการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในการแข่งขันทางการตลาด และผลประโยชน์ทางธุรกิจด้านอื่นๆ

AI ปัญญาประดิษฐ์

ระบบปัญญาประดิษฐ์ คืออะไร

AI : Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียน แบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดย คำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการ ให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

       Acting Humanly : การกระทำคล้าย มนุษย์
เช่น

      - สื่อสารกับ มนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่าง หนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้ 
      - มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)
      - หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
      - machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

       Thinking Humanly : การคิดคล้าย มนุษย์ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร
       Thinking rationally : คิดอย่างมี เหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ
       Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent (agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลคือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ใน ระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่ สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ใน เกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น
ความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์  
ปัญญาประดิษฐ์ได้เริ่มการ ศึกษาในปี ค.ศ.1950 โดยอาจารย์จาก ประเทศอเมริกาและอังกฤษ นิยามของปัญญาประดิษฐ์ได้ถูกกำหนดขึ้นในปี 1956 โดย John McCarthy ได้มีการศึกษา และพัฒนางานด้านปัญญาประดิษฐ์และได้มีการตั้งเกณฑ์ทดสอบเพื่อที่จะระบุว่า เครื่องจักรกลหรือระบบคอมพิวเตอร์สามารถคิดได้เหมือนมนุษย์ออกมาโดย Alan Turing นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แต่จนบัดนี้เครื่องจักรกลหรือระบบคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่สามารถผ่านเกณฑ์ของ Alan Turing ได้เลย  ณ ปัจจุบันระบบปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถสร้างคำตอบที่แปลกใหม่หรือคำตอบที่มา จากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ของระบบเองได้ เพียงแต่เป็นการลอกเลียนความสามารถของมนุษย์ได้เท่านั้น
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยา การคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป้าหมายคือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์

ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์
1. Cognitive Science
งาน ด้านนี้เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร จึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ 
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network)
ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet) 
ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic)
เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm)
เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents) 
ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems)
2. Roboics
พื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต็ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ สามารถเครื่องไหวได้เหมือนกับมนุษย์
3. Natural Interface งาน ด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ
ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language)
ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality)
ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ปัญหาหรือช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์
องค์ประกอบของผู้เชี่ยวชาญ
1. ฐานความรู้ (Knowledge Base) เป็นส่วนของความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด ซึ่งจะเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ
2. โปรแกรมของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System Software หรือ Software Resources) แบ่งออกได้ ส่วน      
    1) ส่วนที่ใช้ในการประมวลผลความรู้จากฐานความรู้  
    2) ส่วนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems : GIS) 
คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง เป็นต้น
องค์กรและหน่วยงานที่เกียวข้องและให้การสนับสนุนทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่
1. The Ameriscan Association for Artificial Intelligence (AAAI)
2. The European Coordinating Committee for Artificial Intelligence ( ECCAI)
3. The society for Artificial Intelligence and Simulation of Behavior (AISB)



องค์กรทั้งสามนี้ให้การสนับสนุนการค้นคว้าทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์ องค์กรทั้งในกลุ่มที่สนใจในปัญญาประดิษฐ์ เป็นพิเศษโดยใช้สื่อว่า SIGART คือ The Association for Computing Machinery (ACM)
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) หมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ หรือการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับระบบการประมวลผล

และการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อแต่ละสถานการณ์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถปฎิบัติงานแทนที่มนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หุ่นยนต์ หรือ robot เป็นต้น 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) คือความพยายามในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์) ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ระบบต่างๆจะต้องมีความสามารถเข้าใจภาษามนุษย์ ทำงานที่ต้องใช้การประสานงาน ระหว่างส่วนต่างๆ (โรโบติก - robotics) ใช้อุปกรณ์ที่สามารถรับทราบ และตอบสนอง ด้วยพฤติกรรม และภาษา (ระบบการมอง และ การออกเสียง) การเลียนแบบความเชี่ยวชาญและการตัดสินใจของมนุษย์ (ระบบผู้เชี่ยวชาญ) ระบบดังกล่าวยังต้องแสดง ความสามารถทางตรรกะ การใช้เหตุผล สัญฃาตญาณ และใช้หลักการสมเหตุสมผล (common sense) ที่มีคุณภาพ ในระดับเดียวกับมนุษย์
รูปแสดงองค์ประกอบต่างๆ ของระบบปัญญาประดิษฐ์ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เครื่องจักรชาญฉลาด (intelligent machine) หรืออุปกรณ์ที่แสดงความสามารถที่กล่าวถึงนี้

การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน (Putting expert systems to work) 

1. ด้านการผลิต (Production) 
2. การตรวจสอบ (Inspection) 
3. การประกอบชิ้นส่วน (Assembly) 
4. ด้านบริการ (Field service) 
5. ด้านการซ่อมแซมโทรศัพท์ (Telephone repair) 
6. การตรวจสอบบัญชี (Auditing) 
7. การคิดภาษี (Tax accounting) 
8. การวางแผนด้านการเงิน (Financial planning) 
9. ด้านการลงทุน (Investments) 
10. ด้านบุคคล (Personnel) 
11. ด้านการตลาด และการขาย (Marketing and sales) 
12. การอนุมัติสินเชื่อ (Credit authorization) 
13. หน่วยงานด้านบริการของรัฐ (Human services agency) 
14. การทำนายทางการแพทย์ (Medical prognosis) ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรค

IOT internet of thing


Internet of Things หรือ IoT คืออะไร


Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น
 กล่าวได้ว่า Internet of Things นี้ได้แก่การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรานึกออก เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้
 นอกจากนั้น Cloud Storage หรือ บริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลของคุณผ่านทางออนไลน์ หรือเราเรียกอีกอย่างว่า แหล่งเก็บข้อมูลบนก้อนเมฆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราใช้งานบ่อยๆแต่ไม่รู้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของ Internet of Things สมัยนี้ผู้ใช้นิยมเก็บข้อมูลไว้ในก้อนเมฆมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ คือ ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม ทั้งยังสามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะก็ได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แถมยังมีพื้นที่ใช้สอยมาก มีให้เลือกหลากหลาย ช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากเราไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ หรือ Flash drive ต่างๆ

บทความที่ได้รับความนิยม